แหล่งที่มา หนังสือห้องสมุด”วัฒนธรรมการกินของคนเมือง: น้ำพริกและผักพื้นบ้านล้านนา
คนเมืองจะกินอาหารที่รสอ่อน คือ ไม่เค็ม ไม่เผ็ด ไม่หวาน มาก แต่จะอยู่พอดี ในแต่ละฤดูคนเมืองหรือคนล้านนา จะมีอาหารประจำฤดู
ฤดูฝน จะเป็นฤดูที่มีอาหารการกินที่อุดมสมบูรณ์ ในนาและหนองน้ำ มีสัตว์ประเภทกุ้ง หอย ปู ปลา กบ เขียด นานาชนิด เช่น อีฮวก (ลูกอ็อด) คนล้านนาจะเอามาตำเป็นน้ำพริกอีฮวกกินกับผักสด และข้าวนึ่งฮ้อนๆ
จิกุ่ง เป็นแมลงประเภทจิ้งหรีด แต่ตัวใหญ่กว่า คนเมืองถือว่าเป็นอาหารชั้นยอด โดยจะเอาทอด หรือว่าเอามาทำเป็นน้ำพริก กินกับผักสด ก็ได้
ปูนา สามมารถนำมาทำเป็นน้ำพริก หรือว่าจะเอามาทำน้ำปู๋ น้ำปู๋ได้มาจากการเอาปูนาตัวเล็กๆนำมาโขลกผสมตะไคร้ ข่า เกลือ ใบมะกอก แล้วกรองเอาแต่น้ำ นำไปเคี่ยวจนข้น แล้วเหนียว มีสีดำ ใช้แทนกะปิ หรือปลาร้าก็ได้ อาหารที่กินกับน้ำปู๋ ยำหน่อ จะคล้ายกับซุปหน่อไม้ของอิสาน ส้ามะโอคือยำส้มโอ หน้าฝนก็ยังมีเห็ดป่าฝน เช่น เห็ดเหลือง เห็ดแดง เห็ดถอบ(ต้นฝน) เห็ดไข่ห่าน เห็ดขมิ้น
ฤดูหนาว อาหารการกินในฤดูนี้จะเน้นการเพิ่มไขมันเพื่อสู้กับความหนาว น้ำพริกอ่อง จึงเป็นอาหารในฤดูหนาว เพราะเราใช้หมูติดมัน การทำ
เมื่อฤดูแล้งมาเยือน หลังเก็บเกี่ยวข้าว ตากแดดให้แห้ง นวดและขนเข้ายุ้งฉางแล้ว แต่เดิมชาวบ้านมักจะหมดงานหนักแล้วที่เคยตรากตรำมา แต่ก็ใช่ว่าจะนอนตีพุงสบาย ไม่ได้ทำอะไรเลย งานซ่อมแซม บ้านเรือน จอบ เสียบ ไถ คราด และงานอื่นๆยังรออยู่ น้ำพริกในฤดูนี้จะเป็นแบบแห้งที่สามารถเก็บไว้กินได้นาน หรือกินได้ตลอดปี น้ำพริกดำ จะคล้ายกับน้ำพริกตาแดง แต่ส่วนประกอบต่างกัน น้ำพริกดำ บางบ้านเรียกว่าน้ำพริกแห้ง โดยเอาพริกแห้งไปย่างไฟอ่อนๆ หอม กระเทียม เอาไปเผาให้สุก แล้วแกะเปลือก เอาไปตำกับพริกแห้งจนละเอียดแล้วใส่เกลือเข้าไปด้วย จะได้น้ำพริกเก็บไว้กิน
การกินอาหารแตกต่างกันในแต่ละฤดู ไม่น่าจะเป็นเพียงเรื่องการมีอยู่ กับไม่มีอยู่ของพืช สัตว์ ที่นำมากินในช่วงเวลานั้นๆเท่านั้น แต่น่าจะสะท้อนให้เห็นถึงความเข้าอกเข้าใจในผลของการรับประทาน สุดท้ายของการกินที่มีต่อสุขภาพอนามัย ว่าอะไรกินแล้วดี อะไรกินแล้วไม่ดี ในช่วงฤดูกาลหรือโอกาสนั้นๆเป็นความรู้ที่มีอยู่จริง
วันจันทร์, พฤษภาคม 04, 2552
วันเสาร์, พฤษภาคม 02, 2552
ศิลปะการฟ้อน
ศิลปะการฟ้อน
การละเล่นภาคเหนือ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการฟ้อนต่างๆศิลปะการฟ้อน ในภาคเหนือจะมีดนตรีพื้นบ้านประกอบหรือเป็นเพลงที่มีการขับร้องประกอบ
การฟ้อนของภาคเหนือ แต่ก่อนมิได้มุ่งแต่การบันเทิง แต่เกิดจากพิธีกรรมทางศาสนาและความเชื่อทางประเพณีในการบูชาผีบรรพบุรุษ เป็นหลัก
การฟ้อนได้วิวัฒนาการไปตามยุค นอกจากนี้ยังมีการเล่น กลองสะบัดชัย การร่ายรำ ตบมะผาบ ฟ้อนดาบ ฟ้อนเจิงหรือเชิง ซึ่งมักจะมีดนตรีและมีกลองเป็นหลัก
ในการประกอบจัวหวะฟ้อน
ฟ้อนเป็นนาฏศิลป์พื้นเมืองของชาวเหนือ จำแนกการฟ้อนตามลักษณะกิจกรรม คือ ฟ้อนผี ฟ้อนเมือง ฟ้อนแบบไทยใหญ่ และฟ้อนม่าน
1. ฟ้อนผี ฟ้อนที่สืบเนื่องมาจากการนับถือผี ได้แก่ ฟ้อนผีมด ฟ้อนผีเมือง เพื่อเซ่นสังเวยผีบรรพบุรุษ ผีปู่ย่า ผีประจำ ตระกูล จะทำทุกๆ 3 ปี โดยสร้างปะรำตั้งเครื่องสังเวยที่ลานบ้าน ผู้ฟ้อนเป็นผู้หญิงในตระกูล นุ่งโสร่งทับผ้าที่คล้องคอ และโพกศรีษะ ฟ้อนตามจังหวะของดนตรี ซึ่งเป็นดนตรีวงสะล้อซอซึง ฟ้อนผีเจ้านาย
มีลักษณะเหมือนฟ้อนผีมด ฟ้อนผี นายด้ง เป็นการละเล่นกันในงานสงกรานต์ เหมือนเล่นแม่ศรีของภาคกลาง แต่เล่นในเวลากลางคืน โดยให้ผู้หญิง 4-5 คน
จับกระด้งที่ใช้ฝัดข้าว แล้วขับลำนำเพลง เพื่อให้ผีนางด้งมาเข้าฟ้อนรำจนเป็นที่พอใจ
2. ฟ้อนเมือง เป็นลีลาการฟ้อนของคนเมือง ได้แก่ฟ้อนเล็บ เป็นเอกลักษณ์ของภาคเหนือ นิยมฟ้อนนำขบวนแห่ครัวทาน เรียกกันว่า “ฟ้อนเมือง”
“ฟ้อนแห่ครัวทาน” ใช้ผู้ฟ้อนเป็นชุดตั้งแต่ 6 คน 8 คน 12 คน (จนถึง 100-200 คน ก็ได้ เช่น ในงานต้อนรับพระราชอาคันตุกะ)
การแต่งกายจะสวมเสื้อแขนกระบอก ผ่าอกติดกระดุม ห่มผ้าสไบทับเสื้อ นุ่งผ้าซิ่นลายขวาง ป้ายข้างยาวกรอมเท้า ไม่สวมรองเท้า สวมเล็บทำด้วยโลหะทองเหลือง ลักษณะปลายเรียวแหลมยาวประมาร 3 นิ้ว ผมทรงเกล้ามวยใช้ดอกเอื้องประดับมวย เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบคือ วงกลองตึ่งนง
ซึ่งประกอบด้วยกลองตึ่งนง (กลองแอว) กลองตะโล้ดโป๊ด แนหลวง แนน้อย ฆ้องโหม่ง ฆ้องหุ่ย และสว่า (ฉาบ) ฟ้อนเทียน มีท่วงท่าลีลาการฟ้อน
การแต่งกาย และเครื่องดนตรี เหมือนกับฟ้อนเล็บทุกประการ เพียงแต่เปลี่ยนจากการสวมเล็บมาถือเทียนแทน เป็นการฟ้อนที่จัดร่วมนำขบวนแห่ขันโตก เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ฟ้อนเชิญขันโตก” ความงดงามของการฟ้อนเล็บและฟ้อนเทียนจะอยู่ที่ลีลาการบิดข้อมือ และการเคลื่อนไหวอย่างช้าๆ นุ่มนวลสอดคล้องกับทำนองเพลง ฟ้อนอย่ามีระเบียบและพร้อมเพรียงกันฟ้อนสาวไหม ท่าฟ้อนสาวไหมแต่ดั้งเดิมเป็นท่าแม่บทท่าหนึ่งในการฟ้อนเจิง ช่างฟ้อนเป็นหญิงแต่งกายพื้นบ้านแบบเดียวกับฟ้อนเล็บ ท่าฟ้อนมีลีลาอ่อนช้อยมาก เป็นท่าฟ้อนที่เลียนแบบกิริยาอาการสาวไหม เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบคือ วงสะล้อ-ซึง บรรเลงทำนองเพลงแบบ
“ซอปั่นฝ้าย”
3. ฟ้อนแบบไทยใหญ่ มีศิลปะการฟ้อนของชาวไทยในภาคเหนือปรากฎอยู่เป็นเอกลักษณ์ ฟ้อนเงี้ยว เป็นที่รู้จักกันในภาคเหนือปัจจุบัน เป็นการประดิษฐ์ท่ารำโดยช่างฟ้อนในวังของ พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ซึ่งเลียนแบบท่วงท่าของการฟ้อนแบบชาวไทยใหญ่ผสมกับลีลานาฏศิลป์ภาคกลาง จึงเกิดเป็นการฟ้อนชนิดนี้ขึ้น
4. ฟ้อนแบบม่าน คำว่าม่าน ในภาษล้านนาหมายถึง พม่า ด้วยเหตุที่บริเวณภาคเหนืออยู่ติดกับประเทศพม่า จึงมีการรับอิทธิพลทางด้านศิลปกรรมต่างๆของพม่าหลายด้าน สำหรับด้านนาฏศิลป์ ฟ้อนม่านมุยเชียงตา เป็นฟ้อนที่พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ทรงริเริ่มขึ้น โดยมีช่างฟ้อนในคุ้มและในวังร่วมกับครูช่างฟ้อนของพม่า ช่างฟ้อนเป็นหญิง 8-16 คน แต่งกายแบบพม่า สวมเสื้อเอวลอย รัดรูป นุ่งซิ่น มีผ้าสไบคล้องคอ เกล้าผมสูงปล่อยชายผมลงด้านหนึ่ง ท่วงท่าฟ้อนรำมีทั้งช้าและเร็ว ใช้วงปี่พาทย์บรรเลงประกอบทำนองเพลง ปัจจุบันการฟ้อนได้วิวัฒนาการไปสู่ภาคอื่นๆ โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือตอนล่าง โดยการคิดท่าฟ้อนประกอบสัญลักษณ์การทำงาน หรือจัดเป็นชุดรำในนิทานพื้นบ้าน เช่น ฟ้อนเก็บขิด ฟ้อนมโนห์ราเล่นน้ำของวิทยาลัยนาฏศิลป์ จังหวัดร้อยเอ็ด ฟ้อนลื้อล่องน่านของจังหวัดน่าน เป็นต้น
การละเล่นภาคเหนือ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการฟ้อนต่างๆศิลปะการฟ้อน ในภาคเหนือจะมีดนตรีพื้นบ้านประกอบหรือเป็นเพลงที่มีการขับร้องประกอบ
การฟ้อนของภาคเหนือ แต่ก่อนมิได้มุ่งแต่การบันเทิง แต่เกิดจากพิธีกรรมทางศาสนาและความเชื่อทางประเพณีในการบูชาผีบรรพบุรุษ เป็นหลัก
การฟ้อนได้วิวัฒนาการไปตามยุค นอกจากนี้ยังมีการเล่น กลองสะบัดชัย การร่ายรำ ตบมะผาบ ฟ้อนดาบ ฟ้อนเจิงหรือเชิง ซึ่งมักจะมีดนตรีและมีกลองเป็นหลัก
ในการประกอบจัวหวะฟ้อน
ฟ้อนเป็นนาฏศิลป์พื้นเมืองของชาวเหนือ จำแนกการฟ้อนตามลักษณะกิจกรรม คือ ฟ้อนผี ฟ้อนเมือง ฟ้อนแบบไทยใหญ่ และฟ้อนม่าน
1. ฟ้อนผี ฟ้อนที่สืบเนื่องมาจากการนับถือผี ได้แก่ ฟ้อนผีมด ฟ้อนผีเมือง เพื่อเซ่นสังเวยผีบรรพบุรุษ ผีปู่ย่า ผีประจำ ตระกูล จะทำทุกๆ 3 ปี โดยสร้างปะรำตั้งเครื่องสังเวยที่ลานบ้าน ผู้ฟ้อนเป็นผู้หญิงในตระกูล นุ่งโสร่งทับผ้าที่คล้องคอ และโพกศรีษะ ฟ้อนตามจังหวะของดนตรี ซึ่งเป็นดนตรีวงสะล้อซอซึง ฟ้อนผีเจ้านาย
มีลักษณะเหมือนฟ้อนผีมด ฟ้อนผี นายด้ง เป็นการละเล่นกันในงานสงกรานต์ เหมือนเล่นแม่ศรีของภาคกลาง แต่เล่นในเวลากลางคืน โดยให้ผู้หญิง 4-5 คน
จับกระด้งที่ใช้ฝัดข้าว แล้วขับลำนำเพลง เพื่อให้ผีนางด้งมาเข้าฟ้อนรำจนเป็นที่พอใจ
2. ฟ้อนเมือง เป็นลีลาการฟ้อนของคนเมือง ได้แก่ฟ้อนเล็บ เป็นเอกลักษณ์ของภาคเหนือ นิยมฟ้อนนำขบวนแห่ครัวทาน เรียกกันว่า “ฟ้อนเมือง”
“ฟ้อนแห่ครัวทาน” ใช้ผู้ฟ้อนเป็นชุดตั้งแต่ 6 คน 8 คน 12 คน (จนถึง 100-200 คน ก็ได้ เช่น ในงานต้อนรับพระราชอาคันตุกะ)
การแต่งกายจะสวมเสื้อแขนกระบอก ผ่าอกติดกระดุม ห่มผ้าสไบทับเสื้อ นุ่งผ้าซิ่นลายขวาง ป้ายข้างยาวกรอมเท้า ไม่สวมรองเท้า สวมเล็บทำด้วยโลหะทองเหลือง ลักษณะปลายเรียวแหลมยาวประมาร 3 นิ้ว ผมทรงเกล้ามวยใช้ดอกเอื้องประดับมวย เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบคือ วงกลองตึ่งนง
ซึ่งประกอบด้วยกลองตึ่งนง (กลองแอว) กลองตะโล้ดโป๊ด แนหลวง แนน้อย ฆ้องโหม่ง ฆ้องหุ่ย และสว่า (ฉาบ) ฟ้อนเทียน มีท่วงท่าลีลาการฟ้อน
การแต่งกาย และเครื่องดนตรี เหมือนกับฟ้อนเล็บทุกประการ เพียงแต่เปลี่ยนจากการสวมเล็บมาถือเทียนแทน เป็นการฟ้อนที่จัดร่วมนำขบวนแห่ขันโตก เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ฟ้อนเชิญขันโตก” ความงดงามของการฟ้อนเล็บและฟ้อนเทียนจะอยู่ที่ลีลาการบิดข้อมือ และการเคลื่อนไหวอย่างช้าๆ นุ่มนวลสอดคล้องกับทำนองเพลง ฟ้อนอย่ามีระเบียบและพร้อมเพรียงกันฟ้อนสาวไหม ท่าฟ้อนสาวไหมแต่ดั้งเดิมเป็นท่าแม่บทท่าหนึ่งในการฟ้อนเจิง ช่างฟ้อนเป็นหญิงแต่งกายพื้นบ้านแบบเดียวกับฟ้อนเล็บ ท่าฟ้อนมีลีลาอ่อนช้อยมาก เป็นท่าฟ้อนที่เลียนแบบกิริยาอาการสาวไหม เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบคือ วงสะล้อ-ซึง บรรเลงทำนองเพลงแบบ
“ซอปั่นฝ้าย”
3. ฟ้อนแบบไทยใหญ่ มีศิลปะการฟ้อนของชาวไทยในภาคเหนือปรากฎอยู่เป็นเอกลักษณ์ ฟ้อนเงี้ยว เป็นที่รู้จักกันในภาคเหนือปัจจุบัน เป็นการประดิษฐ์ท่ารำโดยช่างฟ้อนในวังของ พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ซึ่งเลียนแบบท่วงท่าของการฟ้อนแบบชาวไทยใหญ่ผสมกับลีลานาฏศิลป์ภาคกลาง จึงเกิดเป็นการฟ้อนชนิดนี้ขึ้น
4. ฟ้อนแบบม่าน คำว่าม่าน ในภาษล้านนาหมายถึง พม่า ด้วยเหตุที่บริเวณภาคเหนืออยู่ติดกับประเทศพม่า จึงมีการรับอิทธิพลทางด้านศิลปกรรมต่างๆของพม่าหลายด้าน สำหรับด้านนาฏศิลป์ ฟ้อนม่านมุยเชียงตา เป็นฟ้อนที่พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ทรงริเริ่มขึ้น โดยมีช่างฟ้อนในคุ้มและในวังร่วมกับครูช่างฟ้อนของพม่า ช่างฟ้อนเป็นหญิง 8-16 คน แต่งกายแบบพม่า สวมเสื้อเอวลอย รัดรูป นุ่งซิ่น มีผ้าสไบคล้องคอ เกล้าผมสูงปล่อยชายผมลงด้านหนึ่ง ท่วงท่าฟ้อนรำมีทั้งช้าและเร็ว ใช้วงปี่พาทย์บรรเลงประกอบทำนองเพลง ปัจจุบันการฟ้อนได้วิวัฒนาการไปสู่ภาคอื่นๆ โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือตอนล่าง โดยการคิดท่าฟ้อนประกอบสัญลักษณ์การทำงาน หรือจัดเป็นชุดรำในนิทานพื้นบ้าน เช่น ฟ้อนเก็บขิด ฟ้อนมโนห์ราเล่นน้ำของวิทยาลัยนาฏศิลป์ จังหวัดร้อยเอ็ด ฟ้อนลื้อล่องน่านของจังหวัดน่าน เป็นต้น
เรื่องเล่าจากภาคเหนือ
วัฒนธรรมและประเพณีของชาวภาคเหนือ ชาวเหนือมีผิวพรรณค่อนข้างขาว ในหน้าและรูปร่างดี ประกอบกับมีนิสัยรักสงบและมีอัธยาศัยเป็นมิตร อ่อนโยนโอบอ้อมอารี ดินแดนภาคเหนือ จึงได้ชื่อว่าเป็น ถิ่นไทยงาม โดยเฉพาะสาวเหนือได้ชื่อว่าเป็นสาวสวยและอ่อนหวาน สังคมชาวเหนือนิยมอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่ บ้านเรือนมักสร้างด้วยไม้ มุงด้วยกระเบื้องดินเผา กระเบื้อง ไม้ และใบตองตึง มีไม้กาแลไขว้เป็นสัญลักษณ์อยู่ที่หน้าจั่ว ชาวเหนือมีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเอง แบ่งได้ตามความแตกต่างของภูมิภาค คือ ภาคเหนือตอนบน ซึ่งภูมิประเทศประกอบ ไปด้วยทิวเขาสลับกับ ที่ราบระหว่างหุบเขาใหญ่น้อยนั้น แต่เดิมส่วนใหญ่เคยตกอยู่ในอาณาจักรล้านนาอันเก่าแก่ มีวัฒนธรรมประเพณีเป็นของตนเองมีภาษาพูด ภาษาเขียน เรียกว่า "คำเมือง" นอกจากนั้น ยังได้รับอิทธิพลทั้งทางการเมืองและวัฒนธรรมจากพม่า ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นกลุ่มใน "วัฒรธรรมล้านนาไทย"ส่วนภาคเหนือตอนล่างอยู่ถัดจากแนวทิวเขา ลงมา ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มกว้างใหญ่ เดิมเคยอยู่ในอาณาจักรสุโขทัยซึ่งมีอายุร่วมสมัยกับอาณาจักรล้านนา แต่ในระยะ หลังตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นต้นมา อาณาจักรสุโทัยได้รวมเข้ากับกรุงศีรอยุธยาทั้งทางวัฒนธรรมและการเมือง ทำให้มีวัฒนธรรมประเพณีส่วนใหญ่ แบบไทยภาคกลาง ในแผ่นดินล้านนาไทย ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ครั้งนั้นพระเข้ากาวิละได้กวานต้นผู้คนที่อยู่ตามป่าเขาให้เข้ามา อยู่ในเมืองเชียงใหม่ รวมทั้งตีเมืองต่าง ๆ เช่น รัฐไทยใหญ่ ไทยลื้อ ไทยเขิน และต้นผู้คนเหล่านั้นมา ทำให้ดินแดนภาคเหนือ มีชนพื้นเมืองเชื้อสาย ไทยใหญ่ ไทยเขิน ไทยลื้อ และพวกคนเมืองเรียกตัวเองว่าไทยยอง ซึ่งมาจากคำว่า โยนก ดินแดนตามเทือกเขาในภาคเหนือเป็นที่ตั้งบ้านเรือนของชาวเขาเผ่า ต่าง ๆ เช่น เผ่ามูเซอ ใน จ.ตาก เผ่ากะเหรี่ยง เผ่าม้ง เผ่าเย้า เผ่าอีก้อ ใน จ.เชียงราย เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน แต่ละเผ่ามีความเป็นอยู่แตกต่างกัน มีอาชีพทำไร่ หาของป่า ทำเครื่องประดับเงิน ทอผ้า และปักผ้าด้วยลวดลายและสีสันสลับลายสวยงาม อาหารของชาวภาคเหนือแบ่งได้หลายประเภท หากเป็นภาคเหนือตอนล่างจะรับประทานข้าวเจ้าและกับข้าวที่ปรุงคล้ายกับชาวภาคกลาง ถ้าเป็นไทยล้านนา จะรับประทานข้าวเหนียวกับน้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง น้ำพริกน้ำปู แนมด้วยแคบหมูและผักสด นอกจากนี้มีผักกาดจอ ลาบหมู ลาบเนื้อ แกงฮังเล แกงโฮะ จิ้นส้ม(แหนม) ไส้อั่ว ข้าวซอย ขนมจีนน้ำเงี้ยว สำหรับชาวไทยภูเขามีพริกเกลือจิ้มข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก จะรับประทานหมูและไก่เฉพาะ ในช่วงเทศกาล การแต่งกายพื้นเมืองของภาคเหนือมีลักษณะแตกต่างกันไปตามเชื้อชาติของกลุ่มชนคนเมือง ผู้หญิงจะสวมเสื้อคอกลมหรือคอจีนแขนยาว ห่มผ้า สไบทับ และเกล้าผม ส่วนผู้ชายสวมเสื้อคอกลมหรือคอจีน นุ่งกางเกงป้ายหน้า มีผ้าคาดเอว ผ้าพาดบ่าและมีผ้าโพกศรีษะ บ้างก็สวมเสื้อม่อฮ่อม นุ่งกางเกง สามส่วน และมีผ้า คาดเอว เครื่องประดับมักจะเป็นเครื่องเงินและเครื่องทอง ไม่เพียงแต่ภาษาพูดที่ไพเราะนุ่มนวล หรือเสื้อผ้าอาภรณ์ที่สวยงาม ชาวเหนือยังมีวัฒนธรรมและประเพณีที่งดงามหลายอย่างที่ถือปฏิบัติกันมาจนถึง ทุกวันนี้ ในภาคเหนือตอนบนซึ่งอยู่ในกลุ่มของวัฒนธรรมล้านนานั้น ตามปกติมักจะมีงานประเพณีในรอบปีแทบทุกเดือน หากนับจากเดือนยี่ของ ปฏิทินทางเหนือ หรือประมาณ เดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาว มีการทำบุญ "ทอดกฐิน" มีประเพณียี่เป็ง (วันเพ็ญเดือนยี่) หรืองานลอยกระทง มีการ "ตามผางผะติ้ป"(ตามประทีป) ประเพณี นี้ชาวภาคเหนือตอนล่างเรียกว่า พิธีจองเปรียงหรือลอยโขมด เป็นงานที่จัดกันจนขึ้นชื่อที่จังหวัดสุโขทัย นอกจากนี้ ยังมีประเพณีลอยกระทงสายหรือประทีปพันดวง ที่จังหวัดตากในเทศกาลเดียวกันด้วยในเดือน 3 หรือประมาณเดือนธันวาคม มีประเพณีตั้งธรรมหลวง(เทศน์มหาชาติ) และทอดผ้าป่า ในเดือนนี้จะมีการเกี่ยว "ข้าวดอ" (คือข้าวสุกก่อนข้าวปี) พอถึงข้างแรมจึงจะมีการเกี่ยว"ข้าวปี"ส่วนในเดือน 4 ซึ่งตรงกับ เดือนมกราคมจะมีการ "ตามข้ามจี่หลาม" และทำบุญขึ้นเรือนใหม่ ถัดมา ตั้งแต่เดือน 7 เดือน 8 และเดือน 9 ซึ่งเป็นฤดูร้อนจะเป็นช่วงที่มีงานประเพณีต่าง ๆ จำนวนมาก เช่น การเลี้ยงผี (หรือการฟ้อนผี) ปอยหลวง และไหว้พระธาตุ เนื่องจาก เป็นช่วงว่างจากการทำนา ทำไร่ นอกจากนี้ยังมีประเพณีสำคัญคือ ประเพณีสงกรานต์ ซึ่งทางภาคเหนือตอนบนถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ ชาวบ้านต่างพากันทำบุญตักบาตรและสาดน้ำกัน เป็นที่ สนุกสนาน รวมทั้งมีงานเทศกาลประเพณีแท้ ๆ ของท้องถิ่น เช่น ปอยหลวง ตานตุง ปอยเหลินสิบเอ็ด งานหลวงเวียงละกอน ปอยบวชลูกแก้ว ประเพณีบอกไฟขึ้นหรือ จุดบั้งไฟ ตานก๋วยสลาก ประเพณีขึ้นขันดอกอินทขิล ประเพณีปักธง งานประเพณีนบพระเล่นเพลง และงานไหว้สาแม่ฟ้าหลวง ภาคเหนือของประเทศไทยได้มีการ สั่งสมทางวัฒนธรรมมาช้านาน นอกจากงานเทศกาลประจำท้องถิ่นแล้ว ยังมีประเพณีความเชื่อดั้งเดิมของชนชาติไทยเผ่าต่าง ๆ ในพื้นที่ เช่น ไทยยวน ไทยลื้อ ไทยใหญ่ ไทยพวน ลัวะ และพวกแมง ได้แก่ ประเพณีกินวอของชาวไทยภูเขาเผ่าลีซอ ประเพณีบุญกำฟ้าของชาวไทยพวนหรือไทยโข่ง ลักษณะศิลปกรรมที่ปรากฎในภาคนี้มีให้เห็นทั่วไปตามวัดวาอารามต่าง ๆ โดยเฉพาะการก่อสร้างที่เป็นสถาปัตยกรรมแบบพม่า เจดีย์ทรงกลม บนยอดดอย และหลังคาโบสถ์ทรงสูงย่อมุม เช่น วัดจอมสวรรค์และวัดสระบ่อแก้ว ที่จังหวัดแพร่ พระธาตุดอยกองมู วัดจองสูง วัดศรีบุญเรือง วัดกิตติวงศ์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน นอกจากนี้ยงมีพระพุทธรูปแบบเชียงแสน พระพุทธรูปทรงเครื่องแบบพม่า และตุ๊กตาไม้แกะสลักที่งดงามอีกมาก
วันศุกร์, พฤษภาคม 01, 2552
เพลงบรรเลงล้านนา
ฟังแบบออนไลน์นะจ้า
http://www.nightbazaar.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538683313&Ntype=141
ยังโหลดได้อยู่จ้า
http://s1.zidoupload.com/f-dnho60N7
มาแบ่งปันเจ้า
http://www.kulasang.net/webboard/viewthread.php?tid=7741&extra=page%3D1
เพลงคำเมือง แบ่งปั๋นได้เจ้า
http://www.kulasang.net/webboard/forumdisplay.php?fid=136
http://www.nightbazaar.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538683313&Ntype=141
ยังโหลดได้อยู่จ้า
http://s1.zidoupload.com/f-dnho60N7
มาแบ่งปันเจ้า
http://www.kulasang.net/webboard/viewthread.php?tid=7741&extra=page%3D1
เพลงคำเมือง แบ่งปั๋นได้เจ้า
http://www.kulasang.net/webboard/forumdisplay.php?fid=136
พิธีไหว้ครูล้านนา
พิธีไหว้ครู
การประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ของล้านนานั้น ผู้ประกอบพิธีจะต้องมีเครื่องบูชาครู ซึ่งเรียกกันว่า “ขั้นตั้ง” เช่น ก่อนจะปลูกบ้านเจ้าของบ้านจะแต่งดาขันครูให้กับหัวหน้าช่างเรียกว่า “ขันตั้งสล่า” เมื่อมีการตายเกิดขึ้นจะมีชาวบ้านมาช่วยกันทำเรือนศพ เจ้าภาพจะแต่งดาขันครูให้กับหัวหน้าทำเรือนศพ เรียกว่า “ขันตั้งทำไม้ศพ” แม้แต่ในวัดจะสร้างอุโบสถ วิหาร ศาลา ก็มีการแต่งเครื่องขันตั้งให้กับหัวหน้าช่าง เมื่อจะมีงานมหรสพเช่น ซอ ลิเก เป็นต้น ทางเจ้าภาพจะต้องแต่งเครื่องขันตั้งให้กับช่างซอ เพราะเชื่อสืบต่อกันมาว่า ช่าง ศิลปินต่าง ๆ ล้วนมีครูผู้สอนทั้งสิ้น ดังนั้นเมื่อลูกศิษย์จะกระทำสิ่งใดที่ต้องใช้วิชาที่ร่ำเรียนมา ให้คิดถึงบุญคุณของครูบาอาจารย์เสมอ และยังเชื่อต่อกันอีกว่า ถ้าไม่บูชาครูก่อนแล้วกระทำงานใด ๆ อาจจะมีอุปสรรค มีสิ่งขัดขวาง และอาจจะมีเหตุร้ายเกิดขึ้นกับตัวเองและลูกน้อง
ด้วยเหตุที่ทำสิ่งใดต้องบอกกล่าวให้ครูบาอาจารย์ อาราธนาครูบาอาจารย์มาช่วยเหลือในกิจการนั้นๆ ให้สำเร็จเป็นที่เรียบร้อย ดังนั้นเมื่อครบรอบ 1 ปีจึงมีการทำพิธีไหว้ครู
เริ่มต้นจากครูคนแรกจะเป็นผู้ไหว้ครู ถ้าเป็นครูที่มีลูกศิษย์มากจะมีพิธีไหว้ครูที่ใหญ่โต โดยมีลูกศิษย์มาช่วยงาน บางงานจะมีมหรสพมาแสดง ที่นิยมกันสมัยก่อนคือการขับซอ บางงานจะมีวงปี่พาทย์มาบรรเลง ถ้าเป็นศิลปินใหม่ที่ยังไม่มีลูกศิษย์มากจะแต่งเครื่องไหว้ครูและทำพิธีแบบง่ายๆ
อุปกรณ์และอาหารสำหรับการไหว้ครู ในแต่ละท้องถิ่นอาจจะไม่เหมือนกัน ถ้าเป็นการไหว้ครูสำหรับศิลปินใหม่ที่ยังไม่โด่งดัง จะแต่งดาเครื่องไหว้ครูอย่างย่อๆ มีกรวยใส่ดอกไม้ธูปเทียนจำนวน 8 กรวย กรวยใส่หมากพลูจำนวน 8 กรวย มีไข่ไก่ปิ้งไฟเพื่อแทนไก่ต้ม มีเหล้าสุรา 1 ขวด เอาของทุกอย่างใส่ในขันสลุง หรือกาละมัง จากนั้นนำไปที่ห้องโถงเรียกกันว่า “เติ๋น” ยกขันไหว้ครูขึ้นกล่าวคำไหว้ครูแล้วจึงนำไปตั้งบนหิ้งครู เป็นเสร็จพิธี ส่วนการไหว้ครูขนาดใหญ่ ซึ่งปัจจุบันจะหาดูได้จากการไหว้ครูของคนทรงเจ้าที่ยังใช้วิธีการไหว้ครูแบบโบราณอยู่ จะแต่งเครื่องไหว้ประกอบด้วยขันใส่กรวยดอกไม้ธูปเทียน กรวยใส่หมากพลู อย่างละ 108 ชุด น้ำส้มป่อย หัวหมูต้ม เป็ดต้ม ไก่ต้ม ปลาต้ม เหล้าสุรา กล้วยน้ำว้า ขนมต่างๆ ผลไม้ตามฤดูกาล เมื่อได้เวลาเจ้าภาพจะยกเครื่องไหว้ครูขึ้นระดับหน้าผาก พร้อมกับอัญเชิญครูทุกครู ทั้งครูเค้า ครูปลาย ครูที่ตายไปแล้วก็ดี ครูที่ยังมีชวิตอยู่ก็ดี ขอให้มารับเครื่องไหว้เหล่านี้ เมื่อมารับแล้วขอเชิญให้มาปกปักรักษาลูกศิษย์ทั้งหลายให้อยู่เย็นเป็นสุข กระทำการใดๆ ให้มีเตชะอานุภาพ แล้วยกเครื่องสักการบูชาขึ้นตั้งบนหิ้งครู จากนั้นลูกศิษย์ที่มาร่วมงานทุกคนจุดธูปเทียนบูชาครูเพื่อขอพร แล้วรอจนธูปที่บูชาดับหมด อาจารย์ที่เป็นประธานจะให้นำหมู เป็ดไก่ อาหารทุกอย่างเข้าโรงครัวเพื่อปรุงอาหารเลี้ยงทุกคน ถ้ามีมหรสพก็จะชมมหรสพจนถึงเย็น เป็นอันเสร็จพิธีไหว้ครู
ผู้เขียน นายศรีเลา เกษพรหม
http://www.sri.cmu.ac.th/elanna/elanna47/public_html/home/home.htm
การประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ของล้านนานั้น ผู้ประกอบพิธีจะต้องมีเครื่องบูชาครู ซึ่งเรียกกันว่า “ขั้นตั้ง” เช่น ก่อนจะปลูกบ้านเจ้าของบ้านจะแต่งดาขันครูให้กับหัวหน้าช่างเรียกว่า “ขันตั้งสล่า” เมื่อมีการตายเกิดขึ้นจะมีชาวบ้านมาช่วยกันทำเรือนศพ เจ้าภาพจะแต่งดาขันครูให้กับหัวหน้าทำเรือนศพ เรียกว่า “ขันตั้งทำไม้ศพ” แม้แต่ในวัดจะสร้างอุโบสถ วิหาร ศาลา ก็มีการแต่งเครื่องขันตั้งให้กับหัวหน้าช่าง เมื่อจะมีงานมหรสพเช่น ซอ ลิเก เป็นต้น ทางเจ้าภาพจะต้องแต่งเครื่องขันตั้งให้กับช่างซอ เพราะเชื่อสืบต่อกันมาว่า ช่าง ศิลปินต่าง ๆ ล้วนมีครูผู้สอนทั้งสิ้น ดังนั้นเมื่อลูกศิษย์จะกระทำสิ่งใดที่ต้องใช้วิชาที่ร่ำเรียนมา ให้คิดถึงบุญคุณของครูบาอาจารย์เสมอ และยังเชื่อต่อกันอีกว่า ถ้าไม่บูชาครูก่อนแล้วกระทำงานใด ๆ อาจจะมีอุปสรรค มีสิ่งขัดขวาง และอาจจะมีเหตุร้ายเกิดขึ้นกับตัวเองและลูกน้อง
ด้วยเหตุที่ทำสิ่งใดต้องบอกกล่าวให้ครูบาอาจารย์ อาราธนาครูบาอาจารย์มาช่วยเหลือในกิจการนั้นๆ ให้สำเร็จเป็นที่เรียบร้อย ดังนั้นเมื่อครบรอบ 1 ปีจึงมีการทำพิธีไหว้ครู
เริ่มต้นจากครูคนแรกจะเป็นผู้ไหว้ครู ถ้าเป็นครูที่มีลูกศิษย์มากจะมีพิธีไหว้ครูที่ใหญ่โต โดยมีลูกศิษย์มาช่วยงาน บางงานจะมีมหรสพมาแสดง ที่นิยมกันสมัยก่อนคือการขับซอ บางงานจะมีวงปี่พาทย์มาบรรเลง ถ้าเป็นศิลปินใหม่ที่ยังไม่มีลูกศิษย์มากจะแต่งเครื่องไหว้ครูและทำพิธีแบบง่ายๆ
อุปกรณ์และอาหารสำหรับการไหว้ครู ในแต่ละท้องถิ่นอาจจะไม่เหมือนกัน ถ้าเป็นการไหว้ครูสำหรับศิลปินใหม่ที่ยังไม่โด่งดัง จะแต่งดาเครื่องไหว้ครูอย่างย่อๆ มีกรวยใส่ดอกไม้ธูปเทียนจำนวน 8 กรวย กรวยใส่หมากพลูจำนวน 8 กรวย มีไข่ไก่ปิ้งไฟเพื่อแทนไก่ต้ม มีเหล้าสุรา 1 ขวด เอาของทุกอย่างใส่ในขันสลุง หรือกาละมัง จากนั้นนำไปที่ห้องโถงเรียกกันว่า “เติ๋น” ยกขันไหว้ครูขึ้นกล่าวคำไหว้ครูแล้วจึงนำไปตั้งบนหิ้งครู เป็นเสร็จพิธี ส่วนการไหว้ครูขนาดใหญ่ ซึ่งปัจจุบันจะหาดูได้จากการไหว้ครูของคนทรงเจ้าที่ยังใช้วิธีการไหว้ครูแบบโบราณอยู่ จะแต่งเครื่องไหว้ประกอบด้วยขันใส่กรวยดอกไม้ธูปเทียน กรวยใส่หมากพลู อย่างละ 108 ชุด น้ำส้มป่อย หัวหมูต้ม เป็ดต้ม ไก่ต้ม ปลาต้ม เหล้าสุรา กล้วยน้ำว้า ขนมต่างๆ ผลไม้ตามฤดูกาล เมื่อได้เวลาเจ้าภาพจะยกเครื่องไหว้ครูขึ้นระดับหน้าผาก พร้อมกับอัญเชิญครูทุกครู ทั้งครูเค้า ครูปลาย ครูที่ตายไปแล้วก็ดี ครูที่ยังมีชวิตอยู่ก็ดี ขอให้มารับเครื่องไหว้เหล่านี้ เมื่อมารับแล้วขอเชิญให้มาปกปักรักษาลูกศิษย์ทั้งหลายให้อยู่เย็นเป็นสุข กระทำการใดๆ ให้มีเตชะอานุภาพ แล้วยกเครื่องสักการบูชาขึ้นตั้งบนหิ้งครู จากนั้นลูกศิษย์ที่มาร่วมงานทุกคนจุดธูปเทียนบูชาครูเพื่อขอพร แล้วรอจนธูปที่บูชาดับหมด อาจารย์ที่เป็นประธานจะให้นำหมู เป็ดไก่ อาหารทุกอย่างเข้าโรงครัวเพื่อปรุงอาหารเลี้ยงทุกคน ถ้ามีมหรสพก็จะชมมหรสพจนถึงเย็น เป็นอันเสร็จพิธีไหว้ครู
ผู้เขียน นายศรีเลา เกษพรหม
http://www.sri.cmu.ac.th/elanna/elanna47/public_html/home/home.htm
"ไหว้สาปาระมี ประเพณีขึ้นธาตุดอยสุเทพ"
"ไหว้สาปาระมี ประเพณีขึ้นธาตุดอยสุเทพ"
ค่ำคืนของวันขึ้น ๑๔ ฅ่ำ เดือน ๙ เหนือ (พ.ศ.๒๕๔๗)
หลายชีวิตคลาคล่ำบนถนนห้วยแก้ว เส้นทางที่มุ่งหน้าขึ้นสู่ดอยสุเทพ ด้วยวันนี้ เป็นวันที่ผู้คนจะเดินขึ้นวัดพระธาตุดอยสุเทพ ของงานไหว้สาปาเวณีพระธาตุดอยสุเทพ รถราต่างก็มาจอดไว้อยู่แถวหน้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จากนั้นก็เดินสองเท้าท่องเทียวตามเส้นทางที่ ครูบาศรีวิชัย ได้บุกเบิกสร้างขึ้น ผมและเพื่อนที่จะร่วมเดินทางขึ้นไปในคืนนี้ นัดกันไว้ว่า จะขึ้นไปประมาณ ๓ ทุ่ม เมื่อทุกคนมาพร้อมเพรียงเรียงหน้ากันครบแล้ว ต่างก็เดินทางเพื่อมุ่งสู่พระธาตุดอยสุเทพ ที่มองจากถนนห้วยแก้ว เห็นเป็นเพียงกลุ่มแสงไฟที่เรืองรองอยู่บนยอดดอย จากหน้าครูบา ผู้คนต่างยัดเยียดเบียดเสียดกันแน่นขนัด ไม่มีที่ทางให้ขึ้นไปไหว้สาครูบาได้เลย ก็เลยต้องยกมือสานอมไหว้อยู่ไกล ๆ แล้วก็ลัดเลาะไปตามทาง ที่มีแสงไฟสีขาวนวลส่องนำทางเป็นระยะ ๆ เพื่อนร่วมเดินทางในงานบุญงานกุศลเช่นนี้ นอกจากกลุ่มผมแล้ว ยังมีอีกมากมาย บ้างก็มาเป็นกลุ่ม บ้างก็มาเป็นคู่ ส่งเสียงพูดคุยกันไปอย่างสนุกสนาน เดี๋ยวโค้งซ้าย บัดเดียวโค้งขวา ผู้คนล้วนหลั่งไหลกันขึ้นดอย ภาพเพื่อนฝูงพากันเกาะเกี่ยวกันขึ้นไป พี่พาน้อง ลุงพาหลาน ต่างก็ทำให้อบอุ่นใจและมีแรงในการมุ่งมั่นเพื่อให้ขึ้นไปถึงยังยอดดอย ยิ่งดึกผู้คนยิ่งมากกลุ่มแล้วกลุ่มเล่าที่แซงขึ้น แล้วก็บางกลุ่มนั่งพักเหนื่อยกันที่ราวกันชนข้างทาง แซงบ้าง ถูกแซงบ้าง ตามแต่ว่าแรงใครจะดีกว่ากัน บางช่วงมีแม่ค้าพ่อขาย ตั้งโต๊ะเรียงราย ผัดไทย น้ำ กาแฟ ขนมขบเคี้ยวต่าง ๆ มีให้เห็นเป็นระยะ ๆ สองเท้าเก้าเดิน ลัดเลาะไต่ตามถนน บางช่วงก็เป็นซุ้มพักยั้งขบวน ก็มีชาวบ้านจากหลายอำเภอ มารอรับขบวนบุษบกอัญเชิญน้ำสรงพระราชทาน และ ขบวนช้างเผือก เพื่อส่งต่อไปเป็นระยะ ๆ จากบริเวณหน้าครูบาเป็นต้นไป บางซุ้มก็มีพระสงฆ์มาอวยพร พรมน้ำมนต์ให้กับผู้ศรัทธาทั้งหลาย ให้อิ่มบุญอิ่มใจ มีเรี่ยวมีแรงที่จะก้าวย่างต่อไป กลุ่มของผมมาทันขบวนก่อนถึงวัดผาลาด บุษบกที่ประดับประดาตกแต่งสวยงาม พร้อมกับน้ำสรงพระราชทานอยู่ในมณฑปอีกทีหนึ่ง หลังจากบุษบกแล้วก็เป็นรูปของช้างเผือก ที่จำลองมาจากครั้งแรกเริ่มสร้างวัดพระธาตุ ในสมัยพระเจ้ากือนา แห่งนครพิงค์เชียงใหม่ เมื่อได้รับพระบรมสารีริกธาตุ ก็ตรินึกถึงที่อันสมควร จึงใช้วิถีเสี่ยงทาย โดยนำพระบรมสาริกธาตุผูกติดไว้กับหลังช้างเผือก แล้วก็ปล่อยไป ช้างเผือกก็เดินขึ้นไปยัง “ดอยอ้อยช้าง” ซึ่งต่อมาก็คือดอยสุเทพ ด้วยนามแห่งเจ้ารสี(ฤๅษี)วาสุเทพ พอไปถึงบริเวณองค์พระธาตุ ก็หยุดอยู่ที่นั้น ไม่ไปไหนอีกเลย.. . ก็เลยนำพระธาตุฝังดินแล้วก่อเจดีย์ครอบไว้ ตั้งแต่นั้นมา จึงเป็นที่ไหว้ที่สาแก่ผู้คนตลอดมา กว่าจะเดินแซงขบวนได้ก็เหนื่อยแทบแย่เหมือนกัน เพราะผู้คนเบียดเสียดกัน พอหลุดออกมาได้ต้องสูดหายใจให้เต็มปอดอีกครั้ง พักเหนื่อยที่วัดผาลาด พอหายเหนื่อยและกำลังคืนมาแล้วก็ต้องเดินทางต่อ พอขึ้นมาจากวัดผาลาดอีกหน่อย คุณลุงที่ขึ้นดอยด้วยกันนี้ก็บอกว่า แถว ๆ นี้มีทางลัดขึ้นไปยังวัดพระธาตุ โดยจะโผล่ที่โค้งขุนกันฯ แต่ค่ำคืนนี้ไม่มีใครใช้เส้นทางนั้น ซึ่งเป็นเส้นทางเดิมเลย เกรงว่าจะหลง ก็เลยต้องเดินตามทางขึ้นไปพร้อมกับคนอื่น ๆ บางช่วงก็เห็นขบวนจากชาวบ้านอำเภอต่าง ๆ ของเชียงใหม่มาร่วมขบวน พร้อมกับเข้าของที่ตกแต่งอย่างสวยงาม มีตั้งแต่วัยรุ่น ถึงพ่ออุ้ยแม่อุ้ย ที่มุ่งมั่นด้วยศรัทธาแรงกล้า ระหว่างทางก็หยุดพักเหนื่อยเป็นระยะ ๆ พร้อมกับจ้องมอง “ดาวบนดิน” ของเวียงเชียงใหม่จากจุดชมวิวข้างทาง แสงไฟมีขาวสีเหลือง ส่องสลับกันพราวพร่างเหมือนกับดาวบนฟ้าต่างหลบเมฆหมอกที่มาบดบัง มาอยู่บนดินกระนั้น แม้นจะเหนื่อย แต่ก็มองเห็นวัดพระธาตุเรืองรองอยู่ไม่ไกล ก็เร่งสืบท้าวด้วยกำลังใจที่ได้เห็นจุดหมายปลายทาง ซึ่งยังดีกว่าที่ก้มหน้าก้มตาเดินไปโดยที่ไม่เห็นจุดหมายปลายทางเอาเสียเลย โค้งขุนกันชนะชน เป็นโค้งสุดท้ายก่อนขึ้นถึงวัดพระธาตุ เป็นโค้งที่หักศอกและขึ้นเนินพร้อมกัน บางส่วนต่างไต่ตามทางเล็ก ๆ ขึ้นไป แต่ส่วนใหญ่ก็เดินขึ้นตามถนนเพราะเดินสะดวกกว่าแม้นว่าจะเหนื่อยอีกนิดก็ไม่เห็นเป็นไร พอมาถึงถนนหน้าวัดผู้คนที่ขึ้นมาก่อนก็นั่งรอกันเต็มถนน มีโคมไฟแขวนไว้สว่างไสวไปทั่ว ร้านขายอาหารตั้งอยู่ตามข้างทาง มีร้านหนึ่งที่เห็นแล้วอดอิจฉาผู้ไปใช้บริการไม่ได้ นั่นก็คือ ร้านนวดฝ่าเท้า ที่ป้ายเขียนไว้ว่า “1/2 hr. 59 ฿” ซึ่งมีลูกค้าอยู่เต็ม ก็ได้แต่เอายาหม่องมานวดข้อเท้าเอง เหลียวดูเวลาแล้วประมาณ ตี 1 กว่า ๆ เสียง “สูตต์เบิก” หรือ สวดเบิก ดังมาจากวัด เสียงสวดเป็นทำนองต่าง ๆ ฟังไพเราะ เป็นการสวดเบิกองค์พระธาตุ ซึ่งจะเริ่มสวดตั้งแต่เที่ยงคืนกว่า ๆ บันไดขึ้นพระ ธาตุต่างเนืองแน่นด้วยผู้คน ทั้งที่ขึ้นไปและกำลังลงมา ต้องเบียด ต้องค่อย ๆ ก้าวขึ้นบันไดทีละขั้น ๆ เสียงสูตต์เบิกก็ดังกังวานเหมือนจะเรียกให้ขึ้นไปอย่างนั้น บันไดขั้นแล้วขั้นเล่า ค่อย ๆ ก้าว ค่อย ๆ สืบเท้าขึ้นไป จนในที่สุดก็มาถึงบนวัดพระธาตุดอยสุเทพ ที่มีผู้คนเนืองแน่น อยู่รายล้อมรอบวัด บ้างนั่งกันเป็นกลุ่ม บ้างก็เอาเสื่อมาปูนอนเพื่อรอคอยใส่บาตรในตอนเช้า ใกล้ ๆ ก็มีการกวนข้าวทิพย์ เสียงเด็ง(ระฆัง) ดังหง่างเหง่งไม่ขาดช่วง เสียงสูตต์เบิกจบลงแล้ว เป็นที่น่าเสียดายที่ไม่ได้ไปนั่งฟังใกล้ ๆ กลุ่มทั้งกลุ่มก็พากันขึ้นไปไหว้สาพระธาตุดอยสุเทพข้างบน ผู้คนหลั่งไหลมาเวียนเทียนรอบองค์พระธาตุ เหมือนกระแสน้ำแห่งศรัทธาที่น้อมนำสู่องค์พระธาตุ หรือบางคนอาจมองว่าเหมือนกระแสสีทันดรสมุทท์ที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ เรานบไหว้ด้วยสองมือสิบนิ้วแทนดอกไม้ธูปเทียน กล่าวคำปูชาพระธาตุ จากนั้นก็เวียนทักขิณารอบพระธาตุ พร้อมกับนำน้ำสรงที่เตรียมมา สรงองค์พระธาตุไปพร้อม ๆ กัน แล้วก็เข้าไปไหว้พระประธานในวิหารหลวง หลังจากเอมอิ่มกับการไหว้สาปูชาพระธาตุเสร็จสิ้น ต่างก็มารวมกันหยุดพักยั้งเหนื่อยกันก่อน จนพักกันหนำใจแล้วก็ต้องจากลาองค์พระธาตุนี้ไปก่อน จึงต้องฝ่ากระแส’ชน’ ลงบันได้เหมือนกันตอนขาขึ้นอีกครั้ง จวบถึงถนนหน้าวัดก็ทำเอาเหนื่อยอีกรอบ เหนื่อยในที่นี้หมายถึงเหนื่อยใจ เนื่องจากเห็นผู้หญิงบางคนนุ่งเสื้อสายเดี่ยวบ้าง ใส่กางเกงขาสั้นบ้าง... ไม่รู้ว่าจะมาวัดหรือว่าจะมาผับมาเธค คราวขาลงนี้ เดินสบายหน่อย สบายกว่าขาขึ้นมาก ก็เลยกันตามสบาย กับผู้คนอีกกลุ่มใหญ่ที่เดินลงมาด้วยกัน เดินไปคุยกันไปสนุกสนานร่าเริง ด้วยอิ่มบุญกันมาถ้วนหน้า ขบวนแห่ที่สวนทางกันมานี้ก็เป็นอีกชุดหนึ่งที่เห็นตอนขาขึ้น เพราะมีการเปลี่ยนผู้อัญเชิญน้ำสรงพระราชทานและกลุ่มชาวบ้านอำเภอต่าง ๆ มาเปลี่ยนกันรับขบวนเป็นทอด ๆ เพื่อให้ถึงบนวัดพระธาตุเช้าพอดี พอเลยขบวน สองขาเริ่มอ่อนล้าแล้ว จากที่ขึ้นมาก็ 11 – 12 กิโลเมตร(ทางดอย) แล้ว รถแดงทั้งหลายต่างมุ่งหน้าขึ้นดอย นักเดินทางบางคนก็ขึ้นรถแดงกันพรึบพรับ บางคันที่ได้คนเต็มแล้วก็วกรถกลับลงดอย ได้ยินเสียงตะโกนว่า “ห้วยแก้วครับห้วยแก้ว 30 บาท” จากคนที่ลงดอยมาด้วยกันเมื่อครู่ ตอนนี้เหลืออยู่นับจำนวนได้ ซึ่งตั้งปณิธานไว้ว่า จะต้องเดินลงให้ถึงให้ได้ รถแดงคันแล้วคันเล่าที่วิ่งผ่านไป บางคันมีโหน บางคันยังมีเสริมบนหลังคาอีก บางคันรับคนลงไปแล้วก็รีบตีรถกลับขึ้นมาอีกครั้ง ไม่รู้คืนนั้นรถแดง ได้คนละกี่เที่ยวแต่ก็คงรับกันไปเต็ม ๆ เลยทีเดียว สองเท้าเริ่มปวดตึบ ๆ แต่ก็ต้องเดิน ไม่ขึ้นรถแดงเป็นเด็ดขาด เหนื่อยนักก็พักก่อน ไม่ต้องรีบร้อน จนเหลือผู้ที่เดินอยู่ไม่กี่กลุ่ม เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ก็เดินกันลงไป รถแดงก็ยังวิ่งขึ้น วิ่งลงอยู่อย่างนั้น ทำเอาแทบเมาควันรถกันเลยทีเดียว ฟ้าเริ่มสาง แสงเงินเริ่มจับทาทับขอบฟ้าด้านตะวันออกอยู่เรื่อ ๆ พร้อมกับดวงดาวบนดินต่างก็ดับลงทีละดวงสองดวง สองเท้าพาเก้าเดินลงดอย มาถึงหน้าครูบาก็ฟ้าแจ้งแสงใสแล้ว ก็เลยเข้าไปไหว้สาครูบาเสียก่อน หลังจากที่เมื่อคืนคนเยอะมาก ไม่มีโอกาสที่จะเข้าไปไหว้ เอาคุณพระคุณเจ้าปกเกล้าห่มหัว ในเช้าวันวิสาขบูชานี้ จากนั้นก็เดินกลับที่พัก จากการที่เหนื่อยและล้า กอปรกับง่วงงุนเป็นกำลัง พอถึงที่พัก ก็เข้านอน พร้อมกับเสียงพระสวดมนต์ลงวิหารในวันวิสาขบูชาดังมาแว่ว ๆ
พี่ปอยเป๋นคนโพสต์ไว้ที่ฮิห้าของชมรมเจ้า
เรื่องร้องเรียนของพี่ปอย
p☺yluaℕgรัตนะเต๊ปเตวาคุ้มฟ้านะยะรัฐนคร says:
24-Jan-2009 23:56
ถ้าเรามีห้องชมรมใหม่ หรือเรามีห้องที่เป็นส่วนตัวมากกว่านี้ ก็คงจะดี คำถาม..ทำไมชมรมอื่นๆเขารวมตัวกันได้ .....ในความคิดของข้าเจ้า เห็นว่าปัญหาใหญ่ของเราก็คือสถานที่ หรือห้องชมรม ยกตัวอย่างชมรมอาสา ซึ่งแต่ก่อนข้าเจ้าก็เคยอยู่ที่นั่น อาสามีห้องเป็นของตัวเอง จะทำอะไรห็ได้ จะกินจะนอนก็ได้ จึงทำให้ชมรมมีคนเข้าออกตลอด และเป็นที่สถิตของเหล่าคนที่ไม่มีใครคบ ในชมรมมีทั้งอุปกรณ์ อำนวยความสดวกหลายอย่างจนจะเหนือนห้องๆนึงหรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นบ้านหลังนึงไปเลย และเมื่อชมรมมีรุ่นพี่อยู่ จึงเป็นสิ่งที่ดึงดูดน้องๆให้เข้ามาในชมรม มานั่งเล่น มานั่งทำงานต่างๆ อ่านหนังสือ เล่นเน็ต หรือแม้แต่มาสนทนา ประสาคนคุ้นเคย เป็นไปได้ หากเรามีความพร้อมเหมือชมรมอาสาแล้ว ข้าเจ้าคิดว่า เราจะสามารถรวมน้องๆให้เข้ามาชมรมได้แน่นอน ข้าเจ้าเคยคุยกะน้องจังหวัด น้องเขามักจะถามว่า ชมรมไม่มีงานอะไรเลยหรอพี่ .... ข่าเจ้าคิดว่าชมรมเรานี่มีงานน้อยไป เราหน้าจะจัดหากิจกรรมให้น้องได้ทำกันบ้าง เช่น พาไปหาด..หรือพาไปเที่ยวบริเวณใกล้ๆ โดยที่เราอาจจะเก็บเงินน้องหรือออกให้ก็ได้แล้วแต่ความสดวก มีการนัดพบปะพูดคุยกัน อย่างน้อยเดือนละครั้ง หรือ สองครั้ง ไม่ไห้น้องลืมหน้าเราประมาณนี้...และเาควรจะวางกิจกรรมหลักๆเอาไว้เลย เช่น การรับน้องชมรม การถวายเทียน การไหว้ครู ขายของงานลอยกระทง และการจัดงานขันโตก ควรจะเป็นกิจกรรมหลักๆที่จะต้องจัดกันทุกปี มหาวิทยาลัยของเรา มีชาวเหนืออยู่จำนวนไม่น้อย บางกลุ่มรู้ว่ามีชมรมแต่หาชมรมไม่เจอ บางกลุ่มรู้แต่ไม่มีเพือนจึงไม่กล้าเข้ามา บางกลุ่มไม่รู้เรือง บางกลุ่มรู้แต่ไม่สนใจ และบางกลุ่มไม่ใช่คนเมือง แต่ออย่ากเข้า แต่ก็ไม่กล้าเข้า เราผู้เป็นรุ่นพี่จึงต้องเข้าไปหาน้อง เหมือนอย่างที่พี่ต้า ได้บอกไว้ อีกไม่นาน น้องโคต้าก็จะมา อยากจะให้แบ่งคนไปแต่ละคณะแล้วไปหาน้องจังหวัด หรือน้องภาคเนือ โดยการทำแบบพี่ๆที่หาน้องในเอกตัวเอง คือถือป้ายหรือทำสัญญาลักษณ์อะไรประมานนี้ และเรื่องเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์กิจกรรมของชมรม เรา ควรจะมี ป้ายคัดเอ้าร์(เขียงยังไงวะ) หรืออื่นๆที่จะประกาศให้น้องๆได้รับรู้และทั่วถึง... พอก่อนๆๆๆๆ เดี๋ยววันหลังจะมาเขียนต่อ นี่เป็นแค่คำแนะนำเฉยๆ ลองดูแล้วกัน เพียงแค่อยากจะให้ชมรมเรายังดำรงค์ต่อไป อยากให้ชมรมเรา มีน้องๆคอยสืบต่อ..
24-Jan-2009 23:56
ถ้าเรามีห้องชมรมใหม่ หรือเรามีห้องที่เป็นส่วนตัวมากกว่านี้ ก็คงจะดี คำถาม..ทำไมชมรมอื่นๆเขารวมตัวกันได้ .....ในความคิดของข้าเจ้า เห็นว่าปัญหาใหญ่ของเราก็คือสถานที่ หรือห้องชมรม ยกตัวอย่างชมรมอาสา ซึ่งแต่ก่อนข้าเจ้าก็เคยอยู่ที่นั่น อาสามีห้องเป็นของตัวเอง จะทำอะไรห็ได้ จะกินจะนอนก็ได้ จึงทำให้ชมรมมีคนเข้าออกตลอด และเป็นที่สถิตของเหล่าคนที่ไม่มีใครคบ ในชมรมมีทั้งอุปกรณ์ อำนวยความสดวกหลายอย่างจนจะเหนือนห้องๆนึงหรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นบ้านหลังนึงไปเลย และเมื่อชมรมมีรุ่นพี่อยู่ จึงเป็นสิ่งที่ดึงดูดน้องๆให้เข้ามาในชมรม มานั่งเล่น มานั่งทำงานต่างๆ อ่านหนังสือ เล่นเน็ต หรือแม้แต่มาสนทนา ประสาคนคุ้นเคย เป็นไปได้ หากเรามีความพร้อมเหมือชมรมอาสาแล้ว ข้าเจ้าคิดว่า เราจะสามารถรวมน้องๆให้เข้ามาชมรมได้แน่นอน ข้าเจ้าเคยคุยกะน้องจังหวัด น้องเขามักจะถามว่า ชมรมไม่มีงานอะไรเลยหรอพี่ .... ข่าเจ้าคิดว่าชมรมเรานี่มีงานน้อยไป เราหน้าจะจัดหากิจกรรมให้น้องได้ทำกันบ้าง เช่น พาไปหาด..หรือพาไปเที่ยวบริเวณใกล้ๆ โดยที่เราอาจจะเก็บเงินน้องหรือออกให้ก็ได้แล้วแต่ความสดวก มีการนัดพบปะพูดคุยกัน อย่างน้อยเดือนละครั้ง หรือ สองครั้ง ไม่ไห้น้องลืมหน้าเราประมาณนี้...และเาควรจะวางกิจกรรมหลักๆเอาไว้เลย เช่น การรับน้องชมรม การถวายเทียน การไหว้ครู ขายของงานลอยกระทง และการจัดงานขันโตก ควรจะเป็นกิจกรรมหลักๆที่จะต้องจัดกันทุกปี มหาวิทยาลัยของเรา มีชาวเหนืออยู่จำนวนไม่น้อย บางกลุ่มรู้ว่ามีชมรมแต่หาชมรมไม่เจอ บางกลุ่มรู้แต่ไม่มีเพือนจึงไม่กล้าเข้ามา บางกลุ่มไม่รู้เรือง บางกลุ่มรู้แต่ไม่สนใจ และบางกลุ่มไม่ใช่คนเมือง แต่ออย่ากเข้า แต่ก็ไม่กล้าเข้า เราผู้เป็นรุ่นพี่จึงต้องเข้าไปหาน้อง เหมือนอย่างที่พี่ต้า ได้บอกไว้ อีกไม่นาน น้องโคต้าก็จะมา อยากจะให้แบ่งคนไปแต่ละคณะแล้วไปหาน้องจังหวัด หรือน้องภาคเนือ โดยการทำแบบพี่ๆที่หาน้องในเอกตัวเอง คือถือป้ายหรือทำสัญญาลักษณ์อะไรประมานนี้ และเรื่องเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์กิจกรรมของชมรม เรา ควรจะมี ป้ายคัดเอ้าร์(เขียงยังไงวะ) หรืออื่นๆที่จะประกาศให้น้องๆได้รับรู้และทั่วถึง... พอก่อนๆๆๆๆ เดี๋ยววันหลังจะมาเขียนต่อ นี่เป็นแค่คำแนะนำเฉยๆ ลองดูแล้วกัน เพียงแค่อยากจะให้ชมรมเรายังดำรงค์ต่อไป อยากให้ชมรมเรา มีน้องๆคอยสืบต่อ..
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)